ใบบัวบก
ใบบัวบก บัวบก ชื่อสามัญ Gotu kola
บัวบก ชื่อวิทยาศาสตร์ Centella asiatica (L.) Urb. จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE)
สมุนไพรบัวบก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักหนอก (ภาคเหนือ), ผักแว่น (ภาคใต้), กะโต่ เป็นต้น จัดเป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดในแถบเอเชีย เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีกลิ่นฉุน มีรสขมหวาน
เมื่อพูดถึงบัวบก สมุนไพรชนิดนี้ขึ้นมาทีไร หลาย ๆ คนคงนึกไปว่ามันแค่ช่วยแก้อาการช้ำในเฉย ๆ (ส่วนอาการอกหักนี้ไม่เกี่ยวกันนะ) แต่ในความเป็นจริงแล้ว บัวบกหรือใบบัวบกนั้นมีสรรพคุณมากมาย เพราะได้รับการกล่าวขานเกี่ยวการรักษาโรคได้หลายชนิด อย่างโรคลมชัก โรคผิวหนัง ท้องเสีย ท้องอืด แผลในกระเพาะอาหาร มีฤทธิ์กล่อมประสาท ช่วยบำรุงสมอง เพิ่มความจำ ช่วยลดความอ่อนล้าของสมอง
ใบบัวบก มีสารประกอบสำคัญหลายชนิด อย่างเช่น บราโมซัยด์ บรามิโนซัยด์ ไตรเตอพีนอยด์ มาดิแคสโซซัยด์ ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ และยังมีกรดมาดิแคสซิค วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินเอ วิตามินเค ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโซเดียม และกรดอะมิโน อย่างเช่น แอสพาเรต กรดกลูตามิก เซรีน ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน เป็นต้น
ใบบัวบกเหมาะสำหรับคนที่ขี้ร้อน มีภาวะแกร่ง หรือมีความร้อนชื้น เพราะเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาเย็น
ประโยชน์ของใบบัวบก
- บัวบกเป็นพืชที่มีแคลเซียมในระดับปานกลางถึงสูง แต่มีระดับสารออกซาเลตที่เป็นอันตรายต่อร่างกายในปริมาณต่ำ
- ใบบัวบกช่วยคืนความอ่อนเยาว์ ย้อนอายุและวัย
- ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
- ช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน
- มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต่อต้านการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆในร่างกาย
- ประโยชน์ของใบบัวบก ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ฟื้นฟูรอบดวงตา เพราะบัวบกมีวิตามินเอสูง
- ช่วยรักษาอาการตาอักเสบบวมแดง ด้วยการใช้ใบบัวบกล้างน้ำสะอาด คั้นเอาแต่น้ำนำมาหยดที่ตา 3-4 ครั้งต่อวัน
- ช่วยบำรุงประสาทและสมองเหมือนใบแปะก๊วย
- ช่วยทำให้ความจำดีขึ้นและทำให้มีปฏิภาณไหวพริบเพิ่มมากขึ้น
- ช่วยเพิ่มความจำในผู้สูงอายุ
- เชื่อว่าใบบัวบกมีส่วนช่วยเพิ่มไอคิว ความฉลาด และความสามารถในการเรียนรู้
- ใบบัวบกมีสรรพคุณช่วยชะลออาการของโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ สตรีวัยทอง โรคอัลไซเมอร์หรืออาการหลงลืมระยะสั้นได้
- ช่วยเพิ่มสมาธิ แก้สมาธิสั้น
- ช่วยเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจเฉพาะหน้า
- ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ปวดศีรษะข้างเดียว
- ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ
- ช่วยผ่อนคลายความเครียด
- ช่วยเสริมการทำงานของกาบา (GABA) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยรักษาสมดุลของจิตใจ จึงช่วยผ่อนคลายและทำให้หลับง่ายขึ้น
- ช่วยทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
- ช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อใหม่
- ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย
- ช่วยบำรุงโลหิตในร่างกาย
- ช่วยบำรุงหัวใจ
- ช่วยฟื้นฟูสุขภาพจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ
- ช่วยทำให้จิตใจสดชื่น อารมณ์แจ่มใส
- ช่วยทำให้หน้าตาสดใสเหมือนเป็นวัยรุ่น
- ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
- ช่วยบำรุงเสียง
- ช่วยรักษาอาการเจ็บคอ ด้วยการใช้บัวบกสดประมาณ 1 กำมือ นำมาตำคั้นเอาน้ำแล้วเติมน้ำส้มสายชู 1-3 ช้อนแกง แล้วจิบกินบ่อย ๆ
- ช่วยแก้กระหายน้ำ
- ใบบัวบกมีสรรพคุณช่วยแก้อาการร้อนใน ตัวร้อน
- ใบบัวบกมีสารยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยต่อต้านโรคมะเร็ง
- ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ดี
- ช่วยรักษาโรคดีซ่านจากภาวะร้อนชื้น ด้วยการใช้บัวบก 30 กรัม น้ำตาลทรายกรวด 30 กรัม ต้มน้ำดื่ม
- ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง
- ช่วยรักษาอาหารหืด
- ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ด้วยการใช้ต้นสด 1 กำมือต้มกับน้ำแล้วนำมาดื่ม หรือจะใช้บัวบกสด ๆ ทั้งต้นประมาณ 30 กรัมนำมาค้นเอาน้ำ เติมน้ำตาลเล็กน้อยแล้วดื่มกินประมาณ 5-7 วัน
- ช่วยรักษาโรคลมชัก
- ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
- ช่วยรักษาอาการเต้านมอักเสบเป็นหนองในระยะแรก ด้วยการใช้บัวบกและเปลือกของลูกหมาก 1 ผล นำมาต้มกับเหล้าดื่ม
- ช่วยแก้คนเป็นบ้า
- ช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับเลือด
- ช่วยลดความดันเลือด เพิ่มความยืดหยุ่นให้หลอดเลือด และช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
- ช่วยรักษาโรคที่มีสมุฏฐานจากเสมหะ
- ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า
- ช่วยแก้ไข้
- ช่วยห้ามเลือดกำเดา เพราะทำให้เลือดเดิน แต่เลือดจะไม่ออกจากเส้นเลือดและยังทำให้เลือดเย็นอีกด้วย
- ช่วยแก้อาการช้ำใน บาดเจ็บจากการกระทบกระแทก
- เป็นพืชที่ย่อยได้ง่าย
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร รับประทานอาหารได้มากขึ้น
- ช่วยแก้อาการท้องเสีย
- สารสกัดจากใบบัวบกมีฤทธิ์ป้องกันและยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เป็นอย่างดี
- ช่วยแก้อาการเริ่มที่จะเป็นบิด
- ช่วยรักษาโรคบิดหรือมีมูกเลือดปนเมื่อขับถ่าย
- ช่วยรักษากระเพาะอาหารเป็นแผล
- ใช้เป็นยาระบาย ช่วยระบายท้อง แก้ลม
- ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
- แก้อาการปัสสาวะติดขัด ด้วยการใช้ใบบัวบกประมาณ 50 กรัม นำมาตำแล้วพอกบริเวณสะดือ เมื่อถ่ายปัสสาวะคล่องดีแล้วค่อยเอาออก
- ช่วยขับความร้อนชื้นทางเดินปัสสาวะ ป้องกันการเกิดนิ่ว
- ช่วยรักษาโรคนิ่วทางเดินปัสสาวะด้วยการใช้บัวบก 50 กรัมต้มกับน้ำซาวข้าวครั้งที่ 2 แล้วนำมาดื่ม
- ช่วยรักษาอาการมีหนองออกจากปัสสาวะ
- ช่วยแก้อาการน้ำดีในร่างกายมากเกินไป
- ช่วยรักษาโรคม้ามโต
- ช่วยรักษาอาการติดเชื้อของไวรัสตับอักเสบ
- แก้อาการปวดข้อรูมาตอยด์
- ใช้เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 20 ใบนำมาล้างให้สะอาด ตำพอกแผลสด
- ช่วยรักษาแผลให้หายเร็วยิ่งขึ้น ช่วยเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ
- ช่วยแก้อาการฟกช้ำ ด้วยการใช้ใบบัวบกมาทุบให้แหลกแล้วนำมาโปะบริเวณที่ฟกช้ำ หรือจะใช้ใบบัวบกประมาณ 40 กรัม ต้มกับเหล้าแดงประมาณ 250 cc. ประมาณ 1 ชั่วโมงแล้วนำมาดื่ม
- ใช้บัวบกตำนำมาพอกรักษาความร้อนบวมของโรคไฟลามทุ่ง หรือใช้รักษาอาการด้วยการใช้น้ำคั้นบัวบกนำมาผสมกับแป้งข้าวเหนียวทำเป็นแป้งเหลว พอกบริเวณที่เป็น
- ช่วยรักษาพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
- ช่วยรักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ เช่น โรคเรื้อน โรคสะเก็ดเงิน หิด หัด เป็นต้น
- ช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดหนอง
- ช่วยลดอาการอักเสบของแผลได้เป็นอย่างดีและใช้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัดได้อีกด้วย
- ช่วยรักษาผิวหนังเป็นด่างขาว
- ใช้เป็นยาถอนพิษ ช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อนจากแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการใช้ทั้งต้นสดของบัวบกประมาณ 3 ต้นนำมาล้างน้ำให้สะอาด ตำให้แหลกแล้วนำมาพอกแผลไฟไหม้
- บัวบกมีการนำมาผลิตเป็นแคปซูลวางจำหน่าย มีสรรพคุณในการช่วยบำรุงสมองเป็นหลัก (Brain tonic)
- ปัจจุบันมีการนำไปทำเป็นยาเป็นแผนปัจจุบันในรูปแบบผงใช้โรยแผล และในรูปแบบเม็ดรับประทานเพื่อรักษาแผลผ่าตัด แผลสด ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือฝีหนองได้ และยังช่วยป้องกันการเกิดแผลเป็นอีกด้วย
- ช่วยแก้อาการก้างปลาติดคอ ด้วยการนำบัวบกไปต้มน้ำ แล้วค่อย ๆ กลืนน้ำลงคอ
- ใบและเถาบัวบกใช้รับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริกกะปิคั่ว หมี่กรอบ ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ลาบ ก้อย แกงเผ็ด ยำใบบัวบก ซุปหน่อไม้ เป็นต้น
- น้ำคั้นจากใบบัวบกนำมาทำเป็นน้ำมันบัวบกใช้ชโลมศีรษะ มีสรรพคุณช่วยบำรุงหนังศีรษะและเส้นผม ช่วยทำให้เส้นผมดกดำ แก้ปัญหาผมร่วง ผมหงอกก่อนวัย
- น้ำใบบัวบกเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสำหรับหน้าร้อนเป็นอย่างมาก เพราะมีฤทธิ์เป็นยาเย็นดับร้อนในร่างกายได้สารพัด
- สารสกัดจากใบบัวบก มีคุณสมบัติช่วยลดการระคายเคืองผิวและปลอดภัยต่อร่างกาย
- สารสกัดจากใบบัวบกมีการนำมาใช้เพื่อเป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง
- มีการนำสารสกัดจากใบบัวบกมาใช้ทำเป็นวัสดุปิดแผล
- ลบรอยตีนกาตื้น ๆ ด้วยน้ำใบบัวบก ด้วยการนำบัวบกมาล้างน้ำให้สะอาด นำไปปั่นจนละเอียด แล้วนำน้ำที่ได้มาใช้สำลีชุบน้ำทาทั่วบริเวณหางตาหรือทั่วใบหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก โดยควรทาทุกวันก่อนนอน
- มีการนำสารสกัดจากใบบัวบกมาผลิตเป็นสบู่ใบบัวบก ซึ่งผู้ผลิตอ้างว่าช่วยรักษาสิว ทำให้ผิวหน้าขาวกระจ่างใส ผิวหน้าเต่งตึงได้
วิธีทำน้ำบัวบก
- วิธีทำน้ำบัวบก ควรเลือกใช้ใบบัวบกที่แก่กว่า กินเป็นผักสด โดยใช้ทั้งรากนำมาล้างน้ำทำความสะอาด
- ใบบัวบกจะเหนียวให้ตัดเป็น 2-3 ท่อน ก่อนนำมาบด
- คั้นน้ำแรกโดยผสมน้ำกับใบบัวบกที่บด แล้วนำกากที่เหลือมาคั้นน้ำที่สองเพื่อให้ได้ตัวยาสมุนไพรที่ยังเหลืออยู่ (ควรใช้น้ำสะอาด และห้ามใช้น้ำร้อนหรือนำน้ำที่คั้นได้ไปต้ม)
- กรองน้ำบัวบกด้วยผ้าขาวบางห่าง ๆ (แบบผ้ามุ้ง ถี่มากจะกรองไม่ได้)
- หลังกรองจะมีกากให้ทิ้งไป ให้รินเฉพาะน้ำส่วนใส ๆ มาดื่ม
- น้ำบัวบกต้องคั้นใหม่ ๆ จากใบสด ๆ และไม่ควรเก็บน้ำที่คั้นได้ไว้นานหรือควรแช่เย็นเก็บไว้
- น้ำเชื่อมถ้าทำมาจากน้ำต้มใบเตย จะทำให้น้ำบัวบกอร่อยมากขึ้น
สรรพคุณของน้ำใบบัวบกช่วยแก้ร้อนใน ช้ำใน
วิธีทำน้ำมันบัวบก
- เตรียมส่วนผสมดังนี้ บัวบก 4 กิโลกรัม / น้ำมันมะพร้าว 1 ลิตร / น้ำสะอาด 1 ลิตร
- นำบัวบกมาล้างน้ำทำความสะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
- เติมน้ำลงไปในบัวบก แล้วนำไปปั่นจนละเอียด
- เสร็จแล้วให้กรองเอาแต่น้ำบัวบกที่ได้จากการปั่น
- นำน้ำบัวบกที่กรองได้ไปเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าวโดยใช้ไฟอ่อน ๆ ประมาณ 80 องศาเซลเซียส
- เคี่ยวไปเรื่อย ๆ จนเหลือแต่น้ำมันมะพร้าว โดยให้สังเกตลักษณะกากของน้ำมัน จะมีลักษณะแห้งแบบเม็ดทราย ถือว่าเป็นอันใช้ได้ ยกลงจากเตาแล้วกรองเอาน้ำมัน เป็นอันเสร็จ
วิธีใช้น้ำมันบัวบก
- ใช้น้ำมันที่ได้นำมาชโลมเส้นผม แล้วนวดให้ทั่วหนังศีรษะ
- นวดเสร็จแล้วให้หมักทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที
- ครบเวลาแล้วให้สระผมด้วยน้ำอุ่นพร้อมแชมพูตามปกติ เป็นอันเสร็จ
น้ำมันบัวบก สรรพคุณช่วยบำรุงหนังศีรษะและเส้นผม ช่วยทำให้เส้นผมดกดำ แก้ปัญหาผมร่วง ผมหงอกก่อนวัย
คำเตือนและคำแนะนำ
- การรับประทานใบบัวบกคุณควรพิจารณาพื้นฐานของร่างกาย อย่ามองแต่สรรพคุณเพียงอย่างเดียว
- บัวบกไม่เหมาะกับคนที่มีภาวะเย็นพร่อง หรือขี้หนาว ท้องอืดบ่อย ๆ
- การรับประทานบัวบกในปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้ธาตุในร่างกายเสียสมดุลได้ เพราะเป็นยาเย็นจัด แต่ถ้ารับประทานในขนาดที่พอดีแล้วจะไม่มีโทษต่อร่างกายและได้ประโยชน์สูงสุด
- การดื่มน้ำบัวบกติดต่อกันทุกวัน ให้ดื่มแค่วันละประมาณ 50 มิลลิลิตร
- การกินเพื่อเป็นยาบำรุงต้องกินตามขนาดที่ระบุไว้ ถ้ากินใบบัวบกสด ๆ ในปริมาณน้อย เช่น วันละ 2-3 ใบทุกวันก็ไม่เป็นอะไร หรือจะกินน้ำคั้นบัวบกแก้ช้ำในหรือร้อนใน ติดต่อกัน 1 สัปดาห์ก็ได้
- ถ้ากินเป็นผัก จิ้มครั้งละ 10-20 ใบต่อสัปดาห์ไม่ถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ถ้ากินติดต่อกัน 10 วันอาจจะเป็นพิษต่อร่างกายได้
- การเก็บใบบักบกอย่าเก็บมาเฉพาะใบ เพราะจะทำให้ได้ตัวยาสมุนไพรมาไม่ครบ ให้ถอนมาทั้งต้นและราก เพราะในส่วนของรากจะมีตัวยาสมุนไพรอยู่ด้วย
- ไม่ควรนำใบบักบกไปตากแดดเพื่อทำให้แห้ง เพราะจะทำให้สูญเสียตัวยาสมุนไพรซึ่งอยู่ในน้ำมันหอมระเหยได้ โดยให้ผึ่งลมตากไว้ในที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก เมื่อแห้งแล้ว ให้นำมาใส่ขวดปิดฝาให้สนิทป้องกันความชื้น
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), เว็บไซต์หมอชาวบ้าน, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ, ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
ขอขอบคุณเรียบเรียงจาก Medthai
-
ใบย่านาง สมุนไพรโบราณสุดมหัศจรรย์ที่เปี่ยมสรรพคุณทางยา และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ย่านาง เป็นสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้ตั้งแต่โบราณในการรักษาโรคต่าง ๆ รวมถึงการนำมาทำอาหารหลากหลายชนิด ซึ่...
-
เตย หรือ เตยหอม ชื่อสามัญ Pandan leaves, Fragrant pandan, Pandom wangเตย ชื่อวิทยาศาสตร์ Pandanus amaryllifolius Roxb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Pandanus odorus Ridl.) จัดอยู่ในวงศ์เตยท...
-
เสลดพังพอนตัวเมีย เสลดพังพอนตัวเมีย ชื่อสามัญSnake Plant[8] เสลดพังพอนตัวเมีย ชื่อวิทยาศาสตร์Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Clinacanthus burmanni Nees, ...
-
มะพร้าว ผลไม้ที่กล่าวกันว่ามีสรรพคุณทางการรักษานานัปการ ช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันคอเลสเตอรอล ป้องกันและรักษาภาวะขาดน้ำจากการถ่ายท้องหรือออกกำลังกาย เพราะอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ ...
-
ขมิ้นหรือขมิ้นชันชื่อสามัญ Turmeric ขมิ้น ชื่อวิทยาศาสตร์Curcuma longa L. จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE) ขมิ้นเป็นพืชล้มลุกที่จัดอยู่ในตระกูลขิง มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้า...
-
ไพลหรือว่านไพลชื่อสามัญ Phlai, Cassumunar ginger, Bengal root สมุนไพรไพลมีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ปูขมิ้น มิ้นสะล่าง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน), ว่านไฟ ไพลเหลือง (ภาคกลาง), ปูเลย ปูลอย (ภาคเห...
-
ส้มแขกเป็นผลไม้ขนาดเล็กที่มีรสเปรี้ยว มักนิยมนำมาเพิ่มรสชาติให้กับอาหารจากทางภาคใต้ เช่น แกงส้ม ต้นยำ ปลาต้มเค็ม เป็นต้น ซึ่งนอกเหนือจากความอร่อยแล้ว นักวิจัยยังเชื่อกันอีกว่าส้มแข...
-
มะขามแขก ชื่อสามัญAlexandria senna, Alexandrian senna, Indian senna, Tinnevelly senna มะขามแขก ชื่อวิทยาศาสตร์Senna alexandrina Mill. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cassia angustifolia M.Vah...
-
ไซเลี่ยม ฮัสค์ (Psyllium Husk)คือใยอาหารอาหารชนิดละลายน้ำได้ (Soluble Fiber) DETOX ช่วยทำความสะอาดลำไส้ ไม่ให้พลังงาน ไม่มีน้ำตาล ไม่มีไขมัน มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ ...